วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

คณะในอนาคต




 
วิศวะกรรมเครื่องกล



วิศวกรรมเครื่องกล (อังกฤษ: Mechanical engineering) เป็นวิชาเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์และกฎทางฟิสิกส์เพื่อการประดิษฐ์ การผลิต และการดูแลรักษาระบบเชิงกล วิศวกรรมเครื่องกลเป็นหนึ่งในสาขาทางวิศวกรรมที่เก่าแก่ที่สุดและมีขอบ ข่ายกว้างขวางที่สุด

การศึกษาวิศวกรรมเครื่องกลนั้นจำเป็นต้องมีความ เข้าใจในหลักการพื้นฐาน ของหลักกลศาสตร์ พลศาสตร์ อุณหพลศาสตร์ กลศาสตร์ของไหลและพลังงานเป็นอย่างดี วิศวกรเครื่องกลนั้นสามารถใช้หลักการณ์พื้นฐานได้ดีพอกับความรู้อื่นๆในงาน ภาคสนามเพื่อการออกแบบและวิเคราะห์ยานยนต์ อากาศยาน ระบบทำความ ร้อนและความเย็น เรือ ระบบการผลิต จักรกลและอุปกรณ์อุตสาหกรรม หุ่นยนต์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น


เส้นทางการเป็นวิศวกร


วิศวกร ผู้ที่ประกอบอาชีพทางด้านวิศวกรรม มีหน้าที่
1.ศึกษาวิเคราะห์
2.คำนวณ
3.ออกแบบ
4.ตรวจสอบแก้ไขปัญหาและควบคุมการผลิต

//การก่อสร้างสิ่งก่อสร้าง
//การออกแบบและผลิตรถยนต์
//การควบคุมเครื่องจักรกลโรงงานต่าง ๆ




แนวทางการประกอบอาชีพ

ออกแบบอุปกรณ์และแผนผังระบบทำความร้อน การระบายอากาศ การทำความเย็น และระบที่คล้ายคลึงกัน
ออก แบบเครื่องปรับอากาศเพื่อสมรรถนะที่เหมาะสม เช่น การออกแบบระบบระบายอากาศในอาคารสูงเพื่อคุณภาพอากาศในอาคาร การควบคุมพลังงานไฟฟ้าของมอเตอร์ในระบบแปรเปลี่ยนปริมาตรลม เป็นต้น
วาง แผนงาน และควบคุมการผลิต การติดตั้ง การใช้และการซ่อม กำหนดแบบของเครื่องจักร คำนวณต้นทุน และวิธีการผลิต เช่น การติดตั้ง การใช้งาน และการบำรุงรักษาระบบปรับอากาศขนาดใหญ่ การติดตั้งเครื่องฟอกอากาศสำหรับระบบปรับอากาศ
จัดทำรายการแสดงรายละเอียดที่เกี่ยวกับการติดตั้ง วางแผนเกี่ยวกับวิธีการผลิต และควบคุมงานด้านเทคนิคการผลิต
ควบ คุมการติดตั้ง การบำรุงรักษา และการซ่อมอุปกรณ์เครื่องปรับอากาศ เช่น การแก้ไขและการป้องกันเสียงและความสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นในระบบปรับอากาศ
ทดสอบอุปกรณ์จักรกลเกี่ยวกับความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และความถูกต้องตรงตามรายละเอียดที่ กำหนดไว้อาจชำนาญในการออกแบบ หรือการวางแผน หรือ การควบคุมงานทางวิศวกรรมเครื่องกล ช่วงใดช่วงหนึ่ง เช่น การผลิต การติดตั้ง หรือการซ่อม
เชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบทำความร้อนใน อาคาร การจ่ายอากาศบริสุทธิ์ การกำจัดอากาศเสีย การทำห้องเย็น สำหรับเก็บสินค้า การจ่ายน้ำให้แก่เครื่องดับเพลิงอัตโนมัติ หรือเพื่อใช้ในงานอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกัน




สภาพการจ้างงาน

ผู้ ประกอบวิศวกรเครื่องกล-Mechanical-engineer-Heating-ventilating- and-refrigeratingได้รับค่าตอบแทนการทำงานเป็นเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ซึ่งไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน ได้รับเงินเดือนในอัตรา ดังนี้
ประเภทองค์กร เงินเดือน
ราชการ 6,360
รัฐวิสาหกิจ 7,210
เอกชน 12,000 - 15,000

ผู้ ประกอบวิศวกรเครื่องกล-Mechanical-engineer-Heating-ventilating- and-refrigeratingส่วนมากทำงานวันละ 8 ชั่วโมง หรือสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง อาจต้องทำงาน ล่วงเวลาวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุด ในกรณีที่ต้องการให้งานที่ได้รับมอบหมายเสร็จให้ทันต่อการใช้งานนอกจากผลตอบ แทนในรูปเงินเดือนแล้วในภาครัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน อาจได้รับผลตอบแทนในรูปอื่นเช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินสะสม เงินช่วยเหลือสวัสดิการในรูปต่างๆ เงินโบนัส เป็นต้น






สาขา

วิศวกรก้อมาหลายสาขา แล้วแต่เราเลือกที่เราชอบ
สาขาของวิศวกรก็มี
* วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
* วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์
* วิศว กรรมแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์
* วิศวกรรมไฟฟ้า
* วิศวกรรมโยธา
* วิศวกรรม ระบบสิ่งก่อสร้าง
* วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
* วิศวกรรมโทรคมนาคม
* วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทร คมนาคม
* วิศวกรรมเคมี
* วิศวกรรมชีวเวช
* วิศวกรรมการผลิต
* วิศวกรรมเกษตร
* วิศวกรรมทรัพยากร น้ำ
* วิศวกรรมดินและน้ำ
* วิศวกรรมขนส่ง
* วิศวกรรมขนถ่าย วัสดุ
* วิศวกรรมความ ปลอดภัย
* วิศวกรรม ปิโตรเลียม
* วิศวกรรมปิโตรเคมี
* วิศวกรรมซอฟต์แวร์
* วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร
* วิศวกรรมสารสนเทศ
* วิศวกรรมสื่อสาร
* วิศวกรรมชายฝั่ง
* วิศวกรรมสมุทรศาสตร์
* วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
* วิศวกรรม ไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต
* วิศวกรรม เครื่องกลและการผลิต
* วิศวกรรมเครื่องกล
* วิศวกรรมระบบอุปกรณ์และการควบคุม
* วิศวกรรมโลหการ
* วิศวกรรมวัสดุ
* วิศวกรรมอุตสาหการ
* วิศวกรรมสำรวจ
* วิศวกรรมเหมืองแร่
* วิศวกรรมอวกาศยาน
* วิศวกรรมอาหาร
* วิศวกรรมพลาสติก
* วิศวกรรมพอลิเมอร์
* วิศวกรรมต่อเรือ
* วิศวกรรมการจัดการ





มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

คณะวิศวะ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คณะวิศวะ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
คณะวิศวะ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คณะวิศวะ มหาวิทยาลัยชินวัตร
คณะวิศวะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะวิศวะ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะวิศวะ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
คณะวิศวะ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
คณะวิศวะ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
คณะวิศวะ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
คณะวิศวะ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
คณะวิศวะ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
คณะวิศวะ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คณะวิศวะ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
คณะวิศวะ มหาวิทยาลัยนเรศวร
คณะวิศวะ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คณะวิศวะ มหาวิทยาลัยรังสิต
คณะวิศวะ มหาวิทยาลัยศิลปากร
คณะวิศวะ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
คณะวิศวะ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
คณะวิศวะ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
คณะวิศวะ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
คณะวิศวะ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา






*วิชาที่ใช้ในการสอบเข้า
1.คณิตศาสตร์
2.วิทยาศาสตร์
3.อังกฤษ
4.ภาษาไทย
5.สังคม
เรียงตามลำดับความสำคัญ แต่ที่ขาดไม่ได้เลยคือ พื้นฐานความถนัดทางวิศวกรรม

คะแนนความถนัดทางวิศวะ

1) GPAX 6 ภาคเรียน 20 %
2) O-NET (8 กลุ่มสาระ) 30 %
3) GAT 10-50 %
4) PAT 0-40 %


..............................................................................^^